เวลาแห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจได้กลับคืนมาสู่ ซิลิคอน วัลเลย์ อีกครั้ง สวนสำนักงานบนถนนไฮเวย์ 101 เริ่มกลับกลายเป็นแหล่งที่ประดับประดาไปด้วยสีสันของนักธุรกิจริเริ่มหรือสตาร์ทอัพที่มีความมุ่งหวังสูงอีกครั้ง ค่าเช่าพุ่งขึ้นสูงเฉกเช่นเดียวกับความต้องการบ้านพักตากอากาศสวยหรูในเมืองท่องเที่ยวอย่าง เลคทาโฮ ซึ่งเป็นสัญญาณอันบ่งบอกถึงการเพิ่มพูนสั่งสมความมั่งคั่งร่ำรวย บริเวณที่เรียกว่า เบย์แอเรีย เป็นแหล่งกำเนิดของอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำหรือที่เรียกว่า เซไมคอนดักเตอร์ รวมทั้งบริษัทคอมพิวเตอร์และอินเทอเน็ตที่เติบโตตามมากับการตื่นขี้นมาของบริเวณนี้ มนต์ขลังของความเจริญเหล่านี้ได้สร้างความรู้สึกอัศจรรย์ใจในโลกแห่งอนาคตให้แก่ผู้คนมาแล้ว นับตั้งแต่โทรศัพท์จอสัมผัส การค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดชั้นเยี่ยมได้อย่างทันท่วงที รวมไปถึงพลังบังคับการส่งเครื่องโดรนไปในระยะทางไกลหลายๆไมล์ การกลับมาของกิจกรรมทางธุรกิจตั้งแต่ปี พ ศ 2553 ส่อให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าที่กำลังเดินเครื่องอยู่อย่างไม่หยุดยั้ง
ดังนั้นอาจเป็นที่น่าแปลกใจที่คนบางคนใน ซิลิคอน วัลเลย์ คิดว่าสถานที่แห่งนี้เกิดภาวะหยุดนิ่ง และอัตราการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆได้ลดน้อยถอยลงไปในหลายทศวรรศที่ผ่านมา ปีเตอร์ ทีล ผู้ก่อตั้ง เพย์พัล และยังเป็นบุคคลถายนอกรายแรกที่เป็นนักลงทุนในบริษัทเฟสบุคกล่าวว่า นวัตกรรมในอเมริกานั้น ”อยู่ในช่วงระยะขัดสนไปจนถึงขั้นตายจาก” วิศวกรในสาขาต่างๆ ต่างก็มีความรู้สึกผิดหวังในทำนองเดียวกัน และนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มเล็กที่กำลังโตต่างก็เห็นพ้องกันว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจของนวัตกรรมในปัจจุบันนั้นอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา
[...]
โดยรวมแล้ว ได้เกิดมีนวัตกรรมที่เป็นผลพวงมาจากพลังงานประกอบการราคาถูกขึ้น ณ ขณะนี้ คอมพิวเตอร์เริ่มที่จะเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์ คนเริ่มบังคับวีดีโอเกมส์ได้โดยเพียงแค่เคลื่อนไหวร่างกาย อันเป็นเทคโนโลยี่ที่จะถูกนำไปปรับใช้ในโลกธุรกิจอีกมากในไม่ช้า การพิมพ์สามมิติทุกวันนี้สามารถผลิตวัตถุที่มีความสลับซับซ้อนได้เพิ่มขึ้นมากมายหลายอย่าง และอาจรวมไปถึงชิ้นส่วนของมนุษย์และชีวภาพอื่นๆได้ในเร็วๆนี้
ผู้ที่มีทัศนคติในทางลบต่อนวัตกรรมอาจไม่เห็นด้วยและเห็นเรื่องนี้เป็น “อนาคตที่ติดขัด“แต่ความคิดเห็นที่ว่าความเจริญที่มีเทคโนโลยี่เป็นตัวนำร่องนั้นจะต้องเป็นไปอย่างคงที่หรือไม่ก็ถดถอยอย่างต่อเนื่อง แทนที่จะเป็นไปอย่างขึ้นๆลงๆนั้นมันขัดกับอดีตที่เป็นมา แชด ไซเวอร์สัน จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ชี้ว่าการเติบโตของกำลังผลิตในช่วงยุคของการส่งกระจายกระแสไฟฟ้านั้นเกิดเป็นช่วงๆไม่สม่ำเสมอ ดังที่เห็นได้ว่า การเติบโตของยุคที่มีนวัตกรรมเกี่ยวกับไฟฟ้าที่สำคัญๆในช่วงปลายทศวรรตที่ 19 และต้นทศวรรตที่ 20 นั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่ไม่นานต่อมาก็พุ่งกระฉูดสูงขึ้น