ProZ.com translation contests » Propose a source text » Thai source text proposed by Jatturaput Nilumprachart


In order to determine which proposed source texts are the suitable for use in ProZ.com contests, proposers and participants are encouraged to "highlight" (like contest entry tagging) and discuss proposed source texts. A good contest source text should pose a reasonable challenge to translators, while allowing for "separation". Refer to the "Propose a source text" overview page for all source text proposal guidelines.

From "Domain Names 101" by HoaxThsi.com

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสเขียนบทความให้กับ Netway Cyber Society เรื่องของความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโดเมนนะครับ เลยอยากเอาบทความมานำเสนอและขยายต่อสักหน่อยครับ

โดเมนเนมคืออะไร?

ถ้าจะให้เปรียบเทียบง่ายๆ โดเมนเนมก็เหมือนกับเบอร์โทรศัพท์ล่ะครับ เป็นการตั้งชื่อให้กับเว็บไซต์ของคุณในแบบที่จดจำง่ายและสะท้อนความเป็นแบรนด์ของคุณในสายตาลูกค้า แล้วถ้าหากไม่มีการจดชื่อโดเมนของคุณล่ะ เว็บไซต์ของคุณจะเข้าถึงได้หรือไม่? คำตอบก็คือ ยังเข้าถึงได้ครับ เพียงแต่ต้องพิม์เป็นเชื่อตัวเลข IP adress เช่น 172.15.345.1 บนแถบ Address Bar บนเว็บเบราว์เซอร์ของคุณเท่านั้น ซึ่งแน่นอนการจำเป็นตัวเลขกับจุดคงไม่ช่วยให้จำได้ง่ายเท่าไหร่ ดังนั้นการจดชื่อโดเมนเนมและตั้งค่าให้เรียกมาที่เว็บไซต์ของคุณจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

โดเมนเนมไม่ต้องมี www. ขึ้นต้นนะครับ แต่ต้องมีสิ่งที่อยู่ข้างหลังที่เรียกว่า extension หรือนามสกุลกำกับเสมอ ซึ่งปัจจุบันมีออกมาใหม่ๆ แล้วหลายตัวเลยทีเดียว [คลิกที่นี่] ตัวอย่างของโดเมนเนมที่คุ้นเคยกันก็ได้แก่ดังต่อไปนี้นะครับ

google.com
google.co.th
bizoncloud.in.th
wikipedia.org
japantimes.co.jp
geek.vic,gov.au

วิธีการเรียกชื่อโดเมนเนม

โดเมนเนมเรียงตามลำดับจากซ้ายไปขวา สิ่งที่อยู่ซ้ายสุดจะมีความชัดเจนมากที่สุดในขณะที่ฝั่งขวาถัดๆ ไปจะมีคำนิยามที่กว้างขึ้น เหมือนกับที่เราใช้ในการเรียกชื่อและนามสกุลของเราเองนั่นแหล่ะครับ โดยแต่ละส่วนจะแยกกันโดยเครื่องหมายจุด (.) นั่นเอง

เริ่มต้นสิ่งที่อยู่ซ้ายสุดจะเรียกว่า www. (ย่อมาจาก World Wide Web) ซึ่งใช้เพื่อบ่งบอกความเป็นเว็บไซต์สาธารณะทั่วไปที่เข้าถึงได้โดยทุกคนนะครับ ส่วนถัดมาที่อยู่ตรงกลางอย่างเช่น google, wikipedia หรือ facebook เหล่านี้คือชื่อเฉพาะที่คุณเลือกได้เองตามความเหมาะสมกับธุรกิจหรือตัวตนของคุณนะครับ และถัดมาทางขวาต่อๆ มาเราเรียกว่าเป็น Domain Extension หรือนามสกุลของโดเมน มีไว้เพื่อบ่งบอกกลุ่มของโดเมนที่ชื่อของคุณจดเอาไว้นะครับ เช่น .com หมายถึงเว็บเชิงพาณิชย์ทั่วไป และ .org หมายถึงเว็บองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ครับ Domain Extention นี้มีหลากหลายระดับ แบ่งแยกกันโดยใช้เครื่องหมายจุดเช่นกัน ประกอบด้วย TLD หรือ Top-Level Domain ที่มีแค่ชั้นเดียวอย่างเช่น .com, .net หรือ Second-Level Domain ที่มีสองชั้น เช่น .com.au และ Third-Level Domain ที่มีสามชั้นเช่น .vic.gov.au ครับ
+1
ถ้าจะให้เปรียบเทียบง่ายๆ โดเมนเนมก็เหมือนกับเบอร์โทรศัพท์ล่ะครับ เป็นการตั้งชื่อให้กับเว็บไซต์ของคุณในแบบที่จดจำง่ายและสะท้อนความเป็นแบรนด์ของคุณในสายตาลูกค้า แล้วถ้าหากไม่มีการจดชื่อโดเมนของคุณล่ะ เว็บไซต์ของคุณจะเข้าถึงได้หรือไม่?
Good challenge
This part ​of the pro​posed text​ is well-w​ritten and​ provides ​a challeng​e to the T​ranslator


General notes about this proposed source text

Discussion about this source text as a whole.
Rank by:
I consider that this is a poor choice of source text as it is a technical topic and contains too many proper names which remain in English.
A source text on some aspect of Thai customs and culture would be much better....I'll try to find one, and submit..